ลักษณะโครงการ

 

                               โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวร   เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจำนวนของโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก ลุ่มน้ำในภาคเหนือตอนล่าง เป็นโครงการชลประทานประเภทเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน  ประกอบด้วยงานระบบส่งน้ำ  งานระบบระบายน้ำ  และงานคันคูน้ำ

 

                          โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนนเรศวรมีที่ตั้งหัวงาน  เลขที่ 57 หมู่ที่ บ้านหาดใหญ่ ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก หรือที่ประมาณ LAT 16o  49’  N และ LONG 100o  12’  E และอยู่ห่างจากอำเภอพรหมพิราม 3 กิโลเมตร  และมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ  ตามเส้นทางถนนสายพหลโยธินประมาณ  394  กิโลเมตร  สมารถเดินทางได้  3 ทาง คือ ทางรถยนต์  ทางรถไฟ  และทางเครื่องบิน

 

                                ตัวเขื่อนนเรศวรเป็นเขื่อนคอนกรีต สร้างในช่องลัดของลำน้ำน่านสูง  17.00  เมตร ยาว 155.60  เมตร  มีช่องระบายน้ำกว้าง  12.50 เมตร จำนวน  5 ช่อง  ตอม่อตัวที่สูงที่สุด  17.00 เมตร  ปิดเปิดด้วยบานระบายเหล็กโค้ง  5 บาน  สามารถระบายน้ำได้สูงสุด  1,600  ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที  มีสะพานข้ามสันเขื่อน ซึ่งสามารถรับน้ำหนักรถได้  21 ตัน  ระดับน้ำเก็บกัก  +47.80 รทกระดับน้ำสูงสุด  +51.350  รทก. นอกจากนี้ยังได้ก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิมยาว  165 เมตร  สันทำนบกว้าง  12  เมตร  เพื่อบังคับให้น้ำไหลผ่านเขื่อนนเรศวร   และสร้างคันกั้นน้ำขึ้นไปเหนือน้ำของตัวเขื่อน  ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่าน  ฝั่งซ้ายรวมยาว  7.3 กิโลเมตร  และฝั่งขวารวมยาว  8.3 กิโลเมตร

 

                                ระบบการชลประทาน

 

                                 1.ระบบส่งน้ำของโครงการฯ  ประกอบด้วย  คลองส่งน้ำสายใหญ่ สาย รวมความยาว  42.8 กิโลเมตร  คลองส่งน้ำสายซอย  และแยกซอย  16  สาย  รวมความยาว  74.7  กิโลเมตร  สามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้   94,700  ไร่

 

                               2.ระบบระบายน้ำ  ประกอบด้วยคลองระบายน้ำสายใหญ่  สาย คลองระบายน้ำสายซอย 20 สาย  รวมความยาวทั้งหมด  112  กิโลเมตร  เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกในบริเวณพื้นที่ส่งน้ำของโครงการฯ

 

                            3.สภาพและการรับน้ำชลประทาน โครงการฯ ได้มีการพัฒนาระบบคันคูน้ำ  เพื่อแพร่กระจายน้ำแปลงไร่นาโดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี  พ.. 2534 สร้างเสร็จเมื่อปี  พ.. 2540 รวมพื้นที่  88,000  ไร่  พร้อมทั้งได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกษตรกรดูแลบำรุงรักษาคูส่งน้ำ – คูระบายน้ำ  ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีรวมถึงการใช้น้ำชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด